7 กับดักลดน้ำหนัก ที่คุณอาจจะมองข้ามไป

รวมผลวิเคราะห์ และรายงานจาก แพ็กเกจ MyLifeStyle DNA + MyHealth DNA และ เพิ่มเติม ผลวิเคราะห์พิเศษ

3 หมวดวิเคราะห์ 19+ รายงาน
  • ค้นหาความเสี่ยงโรคร้าย
  • ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ระบบภูมิคุ้มกันที่ต้องเฝ้าระวัง

3 หมวดวิเคราะห์ 80+ รายงาน

ทำทุกอย่าง “ถูกต้อง” แต่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้? ความลับอาจซ่อนอยู่ในยีนของคุณ

นับแคลอรีอย่างขยันขันแข็ง ออกกำลังกายอย่างกับนักกีฬา แต่ตราชั่งก็ไม่ขยับสักขีด T_T

การลดน้ำหนักเป็นสิ่งที่ท้าทาย รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ทำคาร์ดิโอก็แล้ว – แต่ผลลัพธ์นั้นไม่ปรากฏให้เห็นเลย … ทำไมกันนะ!?

หากคุณเคยพยายามลดน้ำหนักโดยการทำทุกอย่างตามแนวทางที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีโภชนาการสูง และควบคุมปริมาณการทานอาหาร แต่น้ำหนักยังคงไม่ลดลง

ลองดูข้อมูลต่อไปนี้ คุณอาจมองข้ามอะไรบางอย่างไปรึเปล่า หรือมีข้อมูลบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในยีนของคุณนะ

7 กับดักลดน้ำหนักที่คุณอาจจะมองข้ามไป

1. กินเร็ว

รออาหารครึ่งชั่วโมง แต่กินเสร็จใน 5 นาที คุณกินอาหารเร็วเกินไปรึเปล่า?

การวิจัยชี้ให้เห็นว่าการกินเร็วเกินไปอาจนำไปสู่การกินมากเกินไป เนื่องจากสมองของเราต้องการเวลาเพื่อบอกว่าเราอิ่มแล้ว

เมื่อเรากินอาหาร สัญญาณความหิวของเราจะถูกย้ายจากท้องไปที่สมองแทน และสมองจะใช้เวลาราว 20 นาทีในการสั่งให้ร่างกายหยุดกิน ดังนั้นหากเรากินเร็วกว่าที่สมองจะสั่งการให้ร่างกายรู้สึกอิ่ม และควรหยุดกิน เราก็กินอาหารเข้าไปเยอะกว่าคนอื่น ๆ แล้ว ดังนั้นคนที่กินเร็วจึงมักมีปัญหารู้สึกอิ่มเกินไปจนอึดอัดท้อง เพราะกว่าจะรู้สึกตัวว่าอิ่ม เราก็กินเข้าไปเยอะมากเกินไปแล้วนั่นเอง

ลองกินอาหารให้ช้าลง ใช้เวลาดื่มด่ำกับรสชาติอาหารแต่ละคำ แล้วลองดูว่าร่างกายของคุณมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

2. พักผ่อนไม่เพียงพอ

การอดนอนจะทำให้ฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวและความอิ่มของคุณเสียสมดุล จะทำให้คุณรู้สึกอยากของหวาน หรืออยากทานอาหารมากยิ่งขึ้น ผู้ใหญ่โดยเฉลี่ยต้องการพักผ่อน 7-9 ชั่วโมงในแต่ละคืน

ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) และเลปติน (Leptin) เป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับความหิว โดยเกรลินเป็นฮอร์โมนที่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์กระเพาะอาหารถูกปล่อยออกมาเมื่อท้องว่าง ทำให้เรารู้สึกหิว ขณะที่เลปติน ช่วยระงับความหิว เตือนสมองให้รู้สึกอิ่ม เวลาของการนอนหลับลดลงส่งผลให้ระดับระดับฮอร์โมนเลปติน (leptin) ลดลง และระดับฮอร์โมนเกรลิน (ghrelin) เพิ่มขึ้น ทำให้เมื่อเรานอนน้อย เราจะอยากทานอาหารมากขึ้นไปด้วย

การศึกษาจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าการนอนหลับที่ไม่เพียงพอและคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีอาจนำไปสู่ความผิดปกติของการเผาผลาญ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคอ้วนและภาวะสุขภาพเรื้อรังอื่น ๆ

อย่าลืม!!! ให้ความสำคัญกับการพักผ่อน ให้ร่างกายของคุณได้ฟื้นฟูตัวเอง เพื่อเติมแบตเตอรี่และเตรียมพร้อมสำหรับวันพรุ่งนี้

3. ลืมโปรตีน

ทานโปรตีนน้อยเกินไปรึเปล่า??

โปรตีนมีประโยชน์มากในการลดน้ำหนัก! เติมโปรตีนให้มากเพียงพอ จะช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้ดีขึ้น

ประโยชน์ของการทานโปรตีน เช่น

● ช่วยให้คุณรู้สึกอิ่มนานขึ้น ทำให้คุณงดทานอาหารจุกจิก

● ช่วยสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้สามารถออกกำลังกายได้ดียิ่งขึ้น

● เพิ่มการเผาผลาญ เมื่อคุณมีกล้ามเนื้อมากขึ้น จะทำให้ร่างกายสามารถเผาผลาญพลังงานได้ดีขึ้น

หากคุณได้รับโปรตีนในปริมาณน้อยเกินไป จะทำให้ร่างกายสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ระบบเผาผลาญแย่ลง ทำให้คุณอ้วนง่ายขึ้น

เพิ่มเนื้อไม่ติดมัน ไข่ เต้าหู้ และพืชตระกูลถั่วเพื่อให้ร่างกายของคุณได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอในแต่ละวัน

4. การควบคุมอาหารอย่างเข้มงวด

การควบคุมอาหารเข้มงวดอย่างต่อเนื่องสามารถทำลายระบบเผาผลาญของคุณได้ ร่างกายของเราจะปรับตัวให้เข้ากับการขาดแคลอรี่ โดยการชะลอการเผาผลาญของเรา นอกจากนี้ น้ำหนักที่ลดลงในช่วงแรกที่มาพร้อมกับการควบคุมอาหารทุกมื้อ โดยปกติจะมาจากการสูญเสียน้ำ ไม่ใช่ไขมัน!

น้ำหนักที่ลดลงทำให้คุณมีความหวังและเติมพลังให้กับแรงจูงใจของคุณ แต่ก็อาจจะไม่ได้ผลในระยะยาว การคุมอาหารที่มากเกินไป อาจทำให้คุณเกิดความเครียด และอาจจะไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง สุดท้ายคุณก็จะกลับมาทานอาหารในรูปแบบเดิมๆ

ดังนั้น แทนที่จะควบคุมอาหารอย่างเข้มงวด ให้มุ่งเน้นไปที่การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเลือกทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพของคุณ

5. ไม่ปรับแคลอรี่

เมื่อน้ำหนักของคุณเริ่มลดลง ร่างกายของคุณจะใช้แคลอรี่น้อยลงในการทำงาน ดังนั้น คุณจะต้องปรับปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับต่อวันลง เพื่อไม่ให้มากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ

หากคุณกินอาหารที่มีแคลอรี่เกินกว่าที่ร่างกายต้องการ แคลอรี่ส่วนเกินนั้นจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกายทำให้น้ำหนักของคุณไม่ลดลงอีก โดยแคลอรี่ที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ กิจกรรมในแต่ละวัน

อย่างไรก็ตาม คุณควรจะเลี่ยงอาหารทอด ผัด และอาหารติดมัน เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

หากคุณยังไม่มั่นใจในการนับแคลอรี่ ลองปรึกษานักโภชนาการ หรือนักกำหนดอาหารดูเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

6. ออกกำลังกายไม่สมดุล

การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ HIIT) เป็นเครื่องมือลดน้ำหนักที่ยอดเยี่ยม ช่วยเผาผลาญแคลอรีได้อย่างดี และช่วยในเรื่องของสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด

แต่การออกกำลังกายแบบแอโรบิก อย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับการสร้างกล้ามเนื้อ!!!

อย่าลืม!!! เพิ่มการออกกำลังกายแบบ weight training ด้วย

weight training ช่วยการสร้างกล้ามเนื้อ สามารถเพิ่มการเผาผลาญในร่างกาย และยังช่วยเพิ่มความสามารถในการเผาผลาญไขมันได้อีกด้วย

การฝึก weight training ไม่ใช่แค่การยกน้ำหนัก แต่ยังรวมถึงพิลาทิส โยคะ ออกกำลังกายด้วยยางยืด วิดพื้น ซิทอัพ สควอท และแพลงก์ คุณสามารถเลือกออกกำลังกายได้ในแบบที่คุณได้เลย

7. ลืมเรื่องน้ำตาลที่ซ่อนอยู่

คุณเคยภูมิใจกับการดื่มกาแฟไม่ใส่น้ำตาล และพูดว่า “ไม่” กับของหวานหลังมื้อเที่ยงหรือไม่?

เยี่ยมมาก แต่…คุณอาจจะยังกินน้ำตาลมากเกินไป!

น้ำตาลไม่ได้มาจากช็อกโกแลตหรือคุกกี้แค่นั้น แต่ยังซ่อนอยู่ในสิ่งที่คาดไม่ถึง เช่น นมพร่องมันเนย โยเกิร์ต ซีเรียล น้ำสลัด ซอสมะเขือเทศ …

น้ำตาลที่เพิ่มเข้ามาเหล่านี้ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้น เพิ่มความอยากอาหาร และสะสมแคลอรีที่ไม่จำเป็น

แนะนำให้อ่านฉลากก่อนซื้ออาหาร เพื่อ ตรวจสอบปริมาณน้ำตาลและรายการส่วนผสมเพื่อหาแหล่งน้ำตาลที่ซ่อนอยู่ (ซูโครส ฟรุกโตส น้ำเชื่อมข้าวโพด)

หากร่างกายคุณฟ้องว่าต้องการน้ำตาล ให้ทานผลไม้สักชิ้นแทนคุกกี้! แล้วลองดูผลลัพธ์ของร่างกายคุณที่เปลี่ยนไป

ปริศนาการลดน้ำหนักอาจซ่อนอยู่ในยีนของคุณ

พันธุกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคุณ มีบทบาทสำคัญในเส้นทางการลดน้ำหนักของคุณ!!!

เราทุกคนมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละยีน ความต่างกันเหล่านี้ส่งผลต่อร่างกายที่แตกต่างกัน เช่น การตอบสนองของร่างกายต่อคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน การรับรู้ ความอิ่มและความหิว คุณภาพการนอนหลับ การออกกำลังกายที่เหมาะสม ความแตกต่างนี้ทำให้รูปแบบการลดน้ำหนัก ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

ยีนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคอ้วน โดยคิดเป็น 40–70% ของความเสี่ยงโรคอ้วน

ลองตรวจยีนเพื่อเข้าใจความต้องการของร่างกาย และออกแบบการลดน้ำหนักที่เหมาะสำหรับสุขภาพและร่างกายคุณ

บางคนรับรสหวานของน้ำตาลได้น้อยกว่า พวกเขาจึงมักจะเพิ่มน้ำตาลมากขึ้นในอาหารหรือเครื่องดื่ม การทำแบบนั้นทำให้มีความเสี่ยงต่อผลร้ายต่างๆ ของน้ำตาลมากขึ้น รวมทั้งแคลอรีที่เพิ่มขึ้นด้วย

หยุดกินขนมไม่ได้เหรอ? มันซ่อนอยู่ในยีนของคุณรึเปล่า ที่ทำให้คุณรับรู้ความหิวและความอิ่มได้น้อยกว่าปกติ หลังมื้ออาหารจึงยังต้องมีอะไรปิดท้าย

ลองนำข้อมูลจากการตรวจยีนเหล่านี้ มาปรับแผนการออกกำลังกายเฉพาะคุณกันเถอะ คุณจะได้รับข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์ เช่น

● เรียนรู้ว่าอาหารประเภทใดเหมาะสมที่สุดสำหรับร่างกายของคุณ

● ค้นหาว่าคุณมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอ้วนหรือไม่

● คาร์โบไฮเดรตมีผลอย่างไรบ้างต่อร่างกายของคุณ

● ค้นหาการออกกำลังกายที่เหมาะกับความแข็งแรงของร่างกายคุณมากที่สุด

● เรียนรู้วิธีการนอนหลับที่มีคุณภาพให้เพียงพอ

การตรวจยีน กับ GenePlanet by BIZGenes ชุด MyLifestyle DNA นั้นรวดเร็วและปลอดภัย – คุณเพียงแค่เก็บตัวอย่างน้ำลายที่บ้าน คุณจะได้รับผลตรวจผ่านทาง Application นอกจากนั้น หากมีผลการตรวจใหม่ๆเพิ่มเติม จะมีการอัพเดตให้ตลอดชีวิตโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

รู้จักคุณมากกว่าเคย ให้ลึกถึง DNA

ปรึกษาฟรี & สอบถามเพิ่มเติม ไม่มีค่าใช้จ่าย

สินค้าของเรา

รวมผลวิเคราะห์ และรายงานจาก แพ็กเกจ MyLifeStyle DNA + MyHealth DNA และ เพิ่มเติม ผลวิเคราะห์พิเศษ

3 หมวดวิเคราะห์ 19+ รายงาน
  • ค้นหาความเสี่ยงโรคร้าย
  • ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ระบบภูมิคุ้มกันที่ต้องเฝ้าระวัง

3 หมวดวิเคราะห์ 80+ รายงาน